History
บนพื้นที่ประมาณ 74 ไร่ เขาใหญ่ อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา

ธรรมดาวิถี ริเริ่ม ในปี 2559 กับวิสัยทัศน์ในการ สร้างพื้นที่ต้นแบบ ที่จะเดินทางไปสู่ ความเป็นชุมชน
ที่รวบรวม และดึงดูด ผู้คน ที่สนใจ และตระหนักถึงความสำคัญของวิถีทางเลือก ความยั่งยืน เป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ พัฒนาทักษะประสบการณ์ ศักยภาพเพื่อการพึ่งพาตัวเอง และเกื้อกูลธรรมชาติ ให้กับชุมชนในท้องถิ่น รวมถึงเครือข่ายชุมชนที่มีอยู่ในขณะนั้น

แนวคิด ที่ผลักดันให้เกิดพื้นที่ ธรรมดาวิถี เกิดขึ้นจากการรวมตัวกันของกลุ่มคนเล็กๆ ในพื้นที่ ที่มีเป้าหมายสอดคล้องในแนวทางเดียวกัน ซึ่งสามารถจำแนกเป็น 5 ช่วงเวลา

เฟสแรก 2544
พื้นที่ 74 ไร่ ใน อ.ปากช่อง ได้เปลี่ยนผ่านสู่การดูแลของผู้ถือครองตามกฎหมายจวบจนปัจจุบัน ด้วยปณิธานที่อยากจะมอบที่ดินผืนนี้เพื่อสร้างสรรค์ประโยชน์เชิงบวกใดๆ ให้กับชุมชนสังคม และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ที่ปลอดให้ภัยกับอนาคต จึงเกิดการรวมตัวกันของเพื่อน ครอบครัว ร่วมกันวาดโครงการอนาคตร่วมในปณิธานนั้นไว้ร่วมกัน แม้จะยังไม่มีการดำเนินการใดๆ ในช่วงแรก แต่ส่วนของธรรมชาติ สัตว์ และผืนป่า
ผืนเล็กในพื้นที่ จึงเริ่มได้รับการโอบกอด

เฟสสอง 2558-2559
ความฝันการเดินทางของพื้นที่เพื่อมอบประโยชน์เชิงบวกกับสังคมและสิ่งแวดล้อม เริ่มทักทอสู้ความเป็นจริง ณ “มาดีคลับ” กิจการเพื่อสังคมเล็กๆ ที่เปิดรับ จับชน คนมีฝัน และ ฝันที่รอคน ได้มาเจอกัน จนเกิดเป็น โครงการมหาลัยทางเลือก ให้กับคนรุ่นใหม่ ที่ต้องการทางเลือกให้กับ ชีวิตและจิตใจ อาชีพ การงาน และสิ่งแวดล้อมให้ได้เติบโตไปพร้อมกันอย่างมีความหวัง ในชื่อ “มหาลัยแห่งความรักและธรรมชาติ” ได้เข้ามาบุกเบิก ปลูกกล้า และ วางอิฐก้อนแรกจนเป็นกลุ่มบ้านดินแห่งแรกๆ ที่โอบล้อมด้วยผืนป่า ในพื้นที่เขาใหญ่ เปิดโอกาสให้กับหนุ่มสาว และผู้คนทั้งไทยและต่างประเทศ ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการเติบโตและส่งต่อปณิธานพลังงานเชิงบวก ด้วยกิจกิจกรรมอาสาสร้างบ้านดิน และกิจกรรมเวิคช๊อบฝึกอบรมด้านการพัฒนาตนเอง สิ่งแวดล้อม การดูแลตัวเองตามวิถีธรรมชาติ การทำเกษตรอินทรีย์ การเก็บเมล็ดพันธุ์ และการพึ่งตัวเอง จนสิ้นสุดโครงการในช่วงท้ายของปีนั้น

เฟสสาม 2559-2560
ให้กำเนิดโครงการ “ธรรมดาวิถี” โดยอาสาสมัครหนึ่งในกลุ่มผู้อาสาช่วยขับเคลื่อนโครงการก่อนหน้า ได้เล็งเห็นถึงศักยภาพของทรัพยากรที่มีในพื้นที่และบริบททางสังคมในขณะนั้น ช่วยนำเสนอ โครงร่างแผนแม่บทสำหรับการพัฒนาพื้นที่โครงการให้ยังคงสามารถมอบประโยชน์ให้กับชุมชน สังคม และธรรมชาติสู่อนาคตต่อไปได้ ผ่านหลักการออกแบบในแนวทาง Permaculture ที่ให้ความสำคัญกับความหลากหลายทางชีวภาพ อนุรักษ์พลังงานรวมถึงทรัพยากรในรูปแบบต่างๆในพื้นที่ และการเชื่อมโยงเพื่อนบ้านและชุนชนตลอดจนเครือข่ายของผู้คนในท้องถิ่น และกัลยาณมิตรต่างๆ เข้าไว้ด้วยกัน

เฟสสี่ 2560 – 2561
โฟกัสที่การปรับผังการใช้งานและการจัดการดูแลพื้นที่ตามโครงร่างแผนแม่บทตามหลังคิด Permaculture พื้นที่กลับคืนสู่การเป็นพื้นที่เรียนรู้และแวะเวียนของเหล่าอาสาสมัครทั้งไทยและต่างชาติ ที่ผลัดเปลี่ยนเข้ามาร่วมกันพัฒนาตามแผนงาน แบ่งปันทักษะประสบการณ์ ส่งต่อประโยชน์ให้กับผู้คนและสังคม พื้นที่ประมาณ 25 ไร่ ได้รับการ Redesign การใช้ประโยชน์ในลักษณะต่างๆ คือ

ก) พื้นที่อนุรักษ์ที่กรอบรวมด้วยผืนป่าดั้งเดิมให้เป็นสินทรัพย์ภายใต้พันธสัญญาคุ้มครอง
ข) พื้นที่ส่งเสริมกิจกรรมด้านการศึกษาเรียนรู้
ค) พื้นที่ฟาร์ม ผลิตผลเกษตรอินทรีย์
ง) พื้นที่พักอาศัย กลุ่มบ้านอีโค่แบบ off-grid

โดยมีเครือข่ายกัลยาณมิตร นักกิจกรรม เกษตรกรผู้ผลิตอินทรีย์ในท้องถิ่น รวมถึงโรงเรียนและชมรมอนุรักษ์ป่าต้นน้ำปากช่องสอง เพื่อนบ้านสำคัญ เข้ามามีส่วนช่วยในการพัฒนาในรูปแบบ กิจกรรมฝีกอบรมวิถีธรรมชาติค่ายกิจกรรมเยาวชน ขั่วโมงกิจกรรมอาสาฯ รวมถึงการเป็นห้องเรียนสีเชียวให้กับน้องๆนักเรียนวิชาชีวะวิทยา สิ่งแวดล้อม ได้เก็บเกี่ยวประโยชน์จากมุมที่มองเห็น

เฟสห้า 2561 – ปัจจุบัน
ธรรมดาวิถี ร่วมกันกับ ผู้ถือครองพื้นที่ตามกฎหมายและผู้สนับสนุน ริเริ่มแนวทางพัฒนาพื้นที่สู่การเป็นชุมชนทางเลือกเพื่อการพึ่งตัวเอง On-site Sustainable Living Program (เช่น ที่อยู่อาศัยอีโค่, ผลิตแหล่งอาหารอินทรีย์, พลังงานทางเลือก ฯ)